วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

ไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน


ไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน   ทำนาปี / นาปรัง ทำสวนลำไย 

ชื่อ    นายทวี  สีด่อน 
เลขที่ 24  หมู่ 11   ต. บางแม่นาง    อ. บางใหญ่    จ. นนทบุรี
เจ้าของผลงาน    นายทวี  สีด่อน
ความเป็นมาของนวัตกรรม    
          ในอดีตทำการเกษตรเชิงเดี่ยวทำนาปีละครั้ง ทำให้ว่างงานขาดรายได้  จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรแบ่งเป็นส่วนเป็นที่นา ที่ทำสวน 
บ่อน้ำ
การออกแบบนวัตกรรม     
           แบ่งเป็นนาปี / นาปรัง 40 %  เป็นสวนไม้ผล 30 %  เป็นไร่พืชผัก 20 % เป็นที่อยู่อาศัยและบ่อน้ำ 10 % เพิ่มเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม   
          จัดทำเป็นแผนผังงานโครงการตีเป็นกรอบ  ขุดคันล้อมแปลงนา เป็นสวน เป็นที่อยู่อาศัย
บ่อปลากินพืชและปลาเบจพรรณ ขอบบ่อน้ำคันล้อมปลูกพริก  มะเขือ  ข่า ตะไคร้  ใบมะกรูด  โหระพา  ฯลฯ
ประโยชน์ที่ได้รับ   
           มีกินมีใช้เหลือแบ่งปันในหมู่บ้าน / ชุมชนส่วนที่เหลือขายเพื่อเป็นรายเสริม
ในครอบครัวตลอดทั้งเดือน / ปี
เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์ 
          พืชผักไม้ผลส่วนที่เหลือเก็บมาทำปุ๋ยหมัก / ปุ๋ยอินทรีย์ / ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยคอก
เพื่อนำมาใช้เองเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่มคุณภาพให้ดิน ๆ จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารและเพิ่มจุลินทรีย์
แหล่งที่มาของข้อมูล 
          จากบรรพบุรุษ ปู่ – ย่า – ตา – ยาย และ บิดา  มารดา ปราชญ์ชาวบ้านที่ทำการเกษตร
แบบผสมผสาน ใช้มูลสัตว์ มูลวัว  ควาย เป็นไก่  หมู  เป็นต้น  
ตอนเป็นเด็กเลี้ยงวัว ควาย เป็ด ไก่ หมู
เทคนิค หรือ วิธีการทำนาแบบลดต้นทุน 
          วัว ควายเลี้ยงไว้ไถนา ส่วนเป็ดไก่เลี้ยงไว้กินไข่  ส่วนหมูเลี้ยงไว้ขายเพื่อเพิ่มรายได้
ในครอบครัว ส่วนมูลสัตว์นำไปตากแดดให้แห้งสนิท  แล้วนำไปใส่ในแปลงนาข้าวและแปลง
พืชผักไม้ผล  ต้นพืชไม้ผลจะงานและโตเร็วมีความต้านทานต่อโรคและเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้อง
ใช้สารเคมี  พืชผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ตำลึง  ต้นขี้กา  ต้นชะพลู  ต้นนางแย้ม  ต้นเสรด
พังพอน ต้นหญ้าขน  ผักบุ้ง  เตยหอม บวบขม ตอกลั้ว  มะละกอ  เปลือกสับประรด  ซากสัตว์ 
ปลา หอย กากน้ำอ้อย น้ำมะพร้าว  ผลไม้สุก  นำมาหมักรวมกันนานประมาณ 6 เดือน 
พอซากพืชเปื่อยเน่า นำน้ำหมักมาผสมน้ำฉีดพ่นต้นพืชผักและต้นข้าว จะงามเหมือนเราใส่ปุ๋ย
เคมีแต่ต้นทุนต่ำ ทำให้ต้นพืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคพืช อัตราที่ใช้ คือ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
ฉีดพ่นทุก 15 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพจะช่วยปลดปล่อยสารอาหารในดิน  ทำให้ดินฟูร่วนเกิด
จุลินทรีย์ในพื้นที่การเกษตร เช่น เกิดใส้เดือน กิ้งกือ และสัตว์ต่าง ๆ เพิ่มออกซิเจนให้กับต้นพืช
ไม้ผล ดูดอาหารบนผิวดินลงสู่รากและส่งให้ลำต้นและผลการฉีดพ่นปุ๋ยหมักชีวภาพควรจะฉีดพ่น
ในตอนเช้าก่อนเที่ยงเพราะต้นพืช ไม้ผลจะกินอาหารทางใบ ปากใบจะเปิดรับอาหารตอนบ่าย
และกลางคืนต้นพืชไม้จะกินอาหารทางราก  และเราให้อาหารทางราก เช่น ลดน้ำผสมปุ๋ยหมัก
ชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ลงไปด้วย ต้นพืชไม้ผลจะได้รับอาหารตลอดส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้ ต้นละ
ประมาณ 1 กก. / ปี สูตรปุ๋ยที่ใช้8–24–24 เพื่อแต่งรสสร้างแป้งให้มีความหวาน
อร่อยเพิ่มขึ้นและสร้างตาดอกให้ไม้ผล 

        การทำสารเร่งดอกใช้เอง

        ส่วนผสม
ไข่เป็ด  ไข่ไก่  หรือ  ไข่หอยเชอรี่          3 กก.  
กากน้ำอ้อย                                       1 กก.  
น้ำตาลทรายแดง                                1 กก. 
เหล้าขาว                                          1 ขวด 
ยาคูลท์                                           12 ขวด 
แป้งข้าวหมาก  
น้ำมะพร้าว 
         วิธีทำ
        หมักรวมกันประมาณ 2 เดือน วิธีใช้  20 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ้นทุก 15 วันจะช่วยให้
ไม้ผลออกดอกก่อนฤดูการใช้ได้กับพืชทุกชนิด 

สรุปโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว ปี 2552 การเตรียมพื้นที่ปรับปรุงดินด้วยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยชีวภาพ ต้นทุนการผลิต่ำ  วัสดุการทำปุ๋ยมีอยู่ในธรรมชาติ  มูลวัว  ความ  เป็ด  ไก่  ราคาถูกตอนนี้เราไม่ได้เลี้ยงเองแต่มีขายตามฟาร์มปุ๋ยกระสอบละ 10 บาท ถ้าเราไปขนเองส่วนซากสัตว์ ปลากุ้ง หอย มีอยู่ในธรรมชาติ พืชผักสดมีอยู่ในธรรมชาติเราไปเก็บมาเปล่า ๆ ไม่มีต้นทุน  กากน้ำอ้อยจีบละ 200 บาท  เราผลิตไว้ใช้เองจะลดต้นทุนการผลิตเพิ่มรายได้ทำให้ดินร่วนซุยไม่เป็นกรดด่าง
ที่มา sewii.doae.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น