วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

เกษตรอินทรีย์คืออะไร


เกษตรอินทรีย์คืออะไรพิมพ์อีเมล์
เกษตรอินทรีย์
               คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)


เกษตรอินทรีย์
               คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาดอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง
               เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ระบบนี้เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ในดินที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่มาก
               เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เกษตรธรรมชาติ (Natural Agriculture) ตามแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะของนายยาซาโนมุ ฟูกุโอกะ นักธรรมชาติวิทยาที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์มาก ได้ทำฟาร์มเกษตรธรรมชาติ โดยมีหลักการใช้คำว่า “ไม่ 4 ตัว” คือ “ไม่ไถพรวน” “ไม่ใส่ปุ๋ย” “ไม่ป้องกันกำจัดศัตรูพืช” “ไม่กำจัดวัชพืช” โดยหยุดการแทรกแซงธรรมชาติโดยสิ้นเชิง กระทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
               เกษตรอินทรีย์ เองก็มี “ 4 ไม่” เช่นกัน คือ “ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี” “ไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช” “ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช” และไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืช
               เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาดอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง
               วิธีการของเกษตรอินทรีย์
               1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช
               2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน
               3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน
               4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
               5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์
               6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
               7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย จุลินทรีย์ จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
               8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ตี้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

               ดังนั้น วิธีการเกษตรอินทรีย์ จึงมิใช่เกษตรกรรมของคนขี้เกียจ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ต้องมีความมานะพยายาม ขยัน เอาใจใส่ อดทน ประหยัด ส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน และไร่นาสวนผสม
หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงดิน
               
1. ไม่เผาตอซัง
               2. ใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก
               3. ใช้ปุ๋ยพืชสด
               4. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
               5. ใช้วิธีผสมผสาน ระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด และเกื้อกูลกัน

คุณภาพของผลผลิตเกษตรอินทรีย์
               
1. รสชาดดี
               2. สีสวย
               3. น้ำหนักดี
               4. เก็บไว้ได้นาน
               5. มีคุณค่าทางโภชนาการ
               6. เพิ่มผลผลิตสูงขึ้น


ที่มา http://www.surin.go.th/kaset2.htm
มกท คืออะไร
  • เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ “มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” ซึ่งจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ.2544
  • ทำหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรอง ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานของ มกท.
  • เป็นสมาชิก “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ” (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก
เป็นหน่วยงานแรกในประเทศแถบเอเชียที่ได้รับการรับรองระบบ(Accreditation) จาก IFOAM เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 โดยการดำเนินการของ International Organic Accreditation Services.inc. (IOAS) ซึ่งทำให้ มกท. เป็นองค์กรให้บริการตรวจสอบและรับรองเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
มกท มีความเป็นมาอย่างไร
  • พ.ศ. 2538  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agricultural Network – AAN) ซึ่งมาจากแนวคิดเกษตรทางเลือก /ตลาดทางเลือก และการรวมตัวของเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้บริโภค และร้านค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สภามาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมีและลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอก และร่าง “มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539
  •  พ.ศ. 2541 จัดตั้งเป็น “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)”  และปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ครั้งแรก คือ “มาตรฐาน มกท. 2542” และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2542 มกท. สมัครขอรับรองระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ IFOAM   ได้รับการรับรองระบบตามเกณฑ์ของIFOAM ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับรองระบบตาม ISO65 ในปี พ.ศ.2548

เกษตรอินทรีย์ หมายรวมถึง เกษตรธรรมชาติ และ เกษตรนิเวศ ด้วย มีหลักการและความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้
  • พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
  • พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
  • ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์มและและความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม
  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอน ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
  • ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
“ กระบวนการผลิตนั้น ไม่มีการใช้ สารเคมีสังเคราะห์ และ มีการพยายามป้องกันการปนเปื้อนสารเคมี จากสภาพแวดล้อม อย่างดีที่สุด เท่าที่สามารถทำได้ ซึ่ง จะทำให้ ผลผลิตนั้น มีความปลอดภัย ต่อผู้บริโภค มากที่สุด  ( เมื่อเปรียบเทียบ กับ ผลิตภัณฑ์ทั่วไป)  อีกทั้งกระบวนการผลิตนี้  ยังมีการปฏิบัติตามแนวทาง  ในการอนุรักษ์  และฟื้นฟูสภาพนิเวศการเกษตร และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วย”
ที่มา actorganic-cert.or.th/produce.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น