วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

เกษตรผสมผสาน (เกษตรสร้างสรรค์)


เกษตรผสมผสาน (เกษตรสร้างสรรค์)
 มีเสียงโจมตีการเกษตรเชิงเดี่ยว หรือการปลูกพืชเฉพาะอย่างในทำนองทำให้สูญเสียความหลากหลาย รวมทั้งการใช้ปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ทำลายสภาพแวดล้อม

 รวมความแล้ว พืชเชิงเดี่ยวไม่ดี

 มองกันอย่างนี้ ชาวนาก็โดนข้อหา แต่แปลกที่ไม่ยักกล้ากล่าวหาชาวนา กลับไปกล่าวหาชาวสวน หรือผู้ประกอบการเกษตรรายใหญ่

 มันก็มีความจริงอย่างที่โจมตีแค่ส่วนเสี้ยวเดียว ส่วนดีก็มีไม่น้อย ดังนั้นเวลาจะสรุปอะไรต้องชั่งใจด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่งั้นก็ไม่มีอะไรดีซักอย่าง

 การเกษตรเชิงเดี่ยวเหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะจะง่ายต่อการบริหารจัดการ สามารถใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงเข้าช่วยได้ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำได้ ว่าอีกด้านหนึ่งพืชเชิงเดี่ยวก็จำเป็นต่อชีวิต ไม่ว่าข้าว มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด และฯลฯ ผลผลิตส่วนเกินของพืชเชิงเดี่ยวก็ส่งออก หาเงินตราเข้าประเทศเช่นกัน

 ลองไม่มีคนปลูกพืชเหล่านี้สิ จะเอาอะไรกิน เอาอะไรใช้ เอาอะไรส่งออก

 ตรงข้ามกับพืชเชิงเดี่ยวคือพืชผสม ในพื้นที่เดียวมีตั้งแต่นาข้าว พืชไร่ พืชสวน ไม้ยืนต้น ผักสวนครัว สระน้ำสำหรับเลี้ยงปลา เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่นัก ใช้แรงงานตัวเองเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจจ้างบางส่วน หรือใช้เครื่องทุ่นแรงเข้าช่วยบ้าง

 ข้อดีของเกษตรผสมผสานคือความหลากหลายของพันธุ์พืช แต่เน้นความอยู่รอด พอเพียงเลี้ยงชีพเป็นปฐม เหลือค่อยเก็บขาย เป็นเงินเป็นทองทีหลัง และไม่ได้มากมายนัก ผิดกับพืชเชิงเดี่ยวที่เก็บเกี่ยวเมื่อไหร่ หมายถึงเงินจำนวนมาก แต่อีกนั่นแหละเกิดเคราะห์หามยามซวย เจอโรคหรือแมลงศัตรูพืช หรือภัยธรรมชาติ ก็หมดตัว ในขณะพืชผสมผสานความเสี่ยงน้อยกว่า แม้เจอภัยธรรมชาติ ก็อาจมีบางอย่างหลงเหลือบ้าง

 มันเป็นเรื่องดีอย่าง เสียอย่าง เท่านั้นเอง

 การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเรื่องการเกษตรแบบผสมผสาน เพราะทรงเล็งเห็นว่า ครอบครัวเกษตรกรนั้นส่วนใหญ่มีที่ดินไม่มากนัก หากมุ่งทำการเกษตรเชิงเดี่ยวก็เท่ากับเอาชีวิตไปเสี่ยง สู้ทำเกษตรผสมผสานเป็นชีวิตที่พอเพียง อย่างน้อยมีกินไม่อดตาย ถ้าเก็บออมเป็นก็จะมีเงินเหลือในท้ายที่สุด เป็นความมั่นคงของครอบครัวอีกประการหนึ่ง

 ผมเห็นภัยประการหนึ่งในปัจุบันและอาจลามสู่อนาคต นั่นคือราคาอาหารแพงจับจิต แพงเป็นทอดๆ กว่าจะถึงมือผู้บริโภคก็หนักหนา ดังนั้นการทำการเกษตรผสมผสานคือการสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในครอบครัว จะเป็นข้าวสาร พริก มะเขือ ตะไคร้ มะนาว และฯลฯมีให้ก็บให้เด็ดแทนควักกระเป๋าซื้อดะ ที่เหลือก็ไว้แจกหรือขายก็ได้

 สำหรับคนเมือง อย่าไปคิดว่าต้องมีพื้นที่มากมาย เอาแค่ลานเล็กๆข้างบ้าน หลังบ้าน หรือบนดาดฟ้า ลองหาพืชผักสวนครัวมาปลูก มันก็ทุ่นรายจ่ายโข เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือผู้มีรายได้มาก แต่ต้องการอาหารปลอดภัยเป็นหลัก ถือเอาเรื่องประหยัดเป็นผลพลอยได้

 วิกฤติอาหารจะมาหรือไม่มาก็ช่างมัน ถ้าเราได้ลงมือทำ อย่างน้อยความอยู่รอดเล็กน้อยก็ได้บังเกิดขึ้นแล้ว

พอใจ สะพรั่งเนตร
ที่มา naewna.com

ไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน


ไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน   ทำนาปี / นาปรัง ทำสวนลำไย 

ชื่อ    นายทวี  สีด่อน 
เลขที่ 24  หมู่ 11   ต. บางแม่นาง    อ. บางใหญ่    จ. นนทบุรี
เจ้าของผลงาน    นายทวี  สีด่อน
ความเป็นมาของนวัตกรรม    
          ในอดีตทำการเกษตรเชิงเดี่ยวทำนาปีละครั้ง ทำให้ว่างงานขาดรายได้  จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรแบ่งเป็นส่วนเป็นที่นา ที่ทำสวน 
บ่อน้ำ
การออกแบบนวัตกรรม     
           แบ่งเป็นนาปี / นาปรัง 40 %  เป็นสวนไม้ผล 30 %  เป็นไร่พืชผัก 20 % เป็นที่อยู่อาศัยและบ่อน้ำ 10 % เพิ่มเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม   
          จัดทำเป็นแผนผังงานโครงการตีเป็นกรอบ  ขุดคันล้อมแปลงนา เป็นสวน เป็นที่อยู่อาศัย
บ่อปลากินพืชและปลาเบจพรรณ ขอบบ่อน้ำคันล้อมปลูกพริก  มะเขือ  ข่า ตะไคร้  ใบมะกรูด  โหระพา  ฯลฯ
ประโยชน์ที่ได้รับ   
           มีกินมีใช้เหลือแบ่งปันในหมู่บ้าน / ชุมชนส่วนที่เหลือขายเพื่อเป็นรายเสริม
ในครอบครัวตลอดทั้งเดือน / ปี
เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์ 
          พืชผักไม้ผลส่วนที่เหลือเก็บมาทำปุ๋ยหมัก / ปุ๋ยอินทรีย์ / ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยคอก
เพื่อนำมาใช้เองเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่มคุณภาพให้ดิน ๆ จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารและเพิ่มจุลินทรีย์
แหล่งที่มาของข้อมูล 
          จากบรรพบุรุษ ปู่ – ย่า – ตา – ยาย และ บิดา  มารดา ปราชญ์ชาวบ้านที่ทำการเกษตร
แบบผสมผสาน ใช้มูลสัตว์ มูลวัว  ควาย เป็นไก่  หมู  เป็นต้น  
ตอนเป็นเด็กเลี้ยงวัว ควาย เป็ด ไก่ หมู
เทคนิค หรือ วิธีการทำนาแบบลดต้นทุน 
          วัว ควายเลี้ยงไว้ไถนา ส่วนเป็ดไก่เลี้ยงไว้กินไข่  ส่วนหมูเลี้ยงไว้ขายเพื่อเพิ่มรายได้
ในครอบครัว ส่วนมูลสัตว์นำไปตากแดดให้แห้งสนิท  แล้วนำไปใส่ในแปลงนาข้าวและแปลง
พืชผักไม้ผล  ต้นพืชไม้ผลจะงานและโตเร็วมีความต้านทานต่อโรคและเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้อง
ใช้สารเคมี  พืชผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ตำลึง  ต้นขี้กา  ต้นชะพลู  ต้นนางแย้ม  ต้นเสรด
พังพอน ต้นหญ้าขน  ผักบุ้ง  เตยหอม บวบขม ตอกลั้ว  มะละกอ  เปลือกสับประรด  ซากสัตว์ 
ปลา หอย กากน้ำอ้อย น้ำมะพร้าว  ผลไม้สุก  นำมาหมักรวมกันนานประมาณ 6 เดือน 
พอซากพืชเปื่อยเน่า นำน้ำหมักมาผสมน้ำฉีดพ่นต้นพืชผักและต้นข้าว จะงามเหมือนเราใส่ปุ๋ย
เคมีแต่ต้นทุนต่ำ ทำให้ต้นพืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคพืช อัตราที่ใช้ คือ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
ฉีดพ่นทุก 15 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพจะช่วยปลดปล่อยสารอาหารในดิน  ทำให้ดินฟูร่วนเกิด
จุลินทรีย์ในพื้นที่การเกษตร เช่น เกิดใส้เดือน กิ้งกือ และสัตว์ต่าง ๆ เพิ่มออกซิเจนให้กับต้นพืช
ไม้ผล ดูดอาหารบนผิวดินลงสู่รากและส่งให้ลำต้นและผลการฉีดพ่นปุ๋ยหมักชีวภาพควรจะฉีดพ่น
ในตอนเช้าก่อนเที่ยงเพราะต้นพืช ไม้ผลจะกินอาหารทางใบ ปากใบจะเปิดรับอาหารตอนบ่าย
และกลางคืนต้นพืชไม้จะกินอาหารทางราก  และเราให้อาหารทางราก เช่น ลดน้ำผสมปุ๋ยหมัก
ชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ลงไปด้วย ต้นพืชไม้ผลจะได้รับอาหารตลอดส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้ ต้นละ
ประมาณ 1 กก. / ปี สูตรปุ๋ยที่ใช้8–24–24 เพื่อแต่งรสสร้างแป้งให้มีความหวาน
อร่อยเพิ่มขึ้นและสร้างตาดอกให้ไม้ผล 

        การทำสารเร่งดอกใช้เอง

        ส่วนผสม
ไข่เป็ด  ไข่ไก่  หรือ  ไข่หอยเชอรี่          3 กก.  
กากน้ำอ้อย                                       1 กก.  
น้ำตาลทรายแดง                                1 กก. 
เหล้าขาว                                          1 ขวด 
ยาคูลท์                                           12 ขวด 
แป้งข้าวหมาก  
น้ำมะพร้าว 
         วิธีทำ
        หมักรวมกันประมาณ 2 เดือน วิธีใช้  20 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ้นทุก 15 วันจะช่วยให้
ไม้ผลออกดอกก่อนฤดูการใช้ได้กับพืชทุกชนิด 

สรุปโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว ปี 2552 การเตรียมพื้นที่ปรับปรุงดินด้วยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยชีวภาพ ต้นทุนการผลิต่ำ  วัสดุการทำปุ๋ยมีอยู่ในธรรมชาติ  มูลวัว  ความ  เป็ด  ไก่  ราคาถูกตอนนี้เราไม่ได้เลี้ยงเองแต่มีขายตามฟาร์มปุ๋ยกระสอบละ 10 บาท ถ้าเราไปขนเองส่วนซากสัตว์ ปลากุ้ง หอย มีอยู่ในธรรมชาติ พืชผักสดมีอยู่ในธรรมชาติเราไปเก็บมาเปล่า ๆ ไม่มีต้นทุน  กากน้ำอ้อยจีบละ 200 บาท  เราผลิตไว้ใช้เองจะลดต้นทุนการผลิตเพิ่มรายได้ทำให้ดินร่วนซุยไม่เป็นกรดด่าง
ที่มา sewii.doae.go.th

เกษตรอินทรีย์คืออะไร


เกษตรอินทรีย์คืออะไรพิมพ์อีเมล์
เกษตรอินทรีย์
               คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)


เกษตรอินทรีย์
               คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาดอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง
               เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ระบบนี้เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ในดินที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่มาก
               เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เกษตรธรรมชาติ (Natural Agriculture) ตามแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะของนายยาซาโนมุ ฟูกุโอกะ นักธรรมชาติวิทยาที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์มาก ได้ทำฟาร์มเกษตรธรรมชาติ โดยมีหลักการใช้คำว่า “ไม่ 4 ตัว” คือ “ไม่ไถพรวน” “ไม่ใส่ปุ๋ย” “ไม่ป้องกันกำจัดศัตรูพืช” “ไม่กำจัดวัชพืช” โดยหยุดการแทรกแซงธรรมชาติโดยสิ้นเชิง กระทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
               เกษตรอินทรีย์ เองก็มี “ 4 ไม่” เช่นกัน คือ “ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี” “ไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช” “ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช” และไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืช
               เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาดอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง
               วิธีการของเกษตรอินทรีย์
               1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช
               2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน
               3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน
               4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
               5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์
               6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
               7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย จุลินทรีย์ จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
               8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ตี้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

               ดังนั้น วิธีการเกษตรอินทรีย์ จึงมิใช่เกษตรกรรมของคนขี้เกียจ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ต้องมีความมานะพยายาม ขยัน เอาใจใส่ อดทน ประหยัด ส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน และไร่นาสวนผสม
หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงดิน
               
1. ไม่เผาตอซัง
               2. ใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก
               3. ใช้ปุ๋ยพืชสด
               4. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
               5. ใช้วิธีผสมผสาน ระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด และเกื้อกูลกัน

คุณภาพของผลผลิตเกษตรอินทรีย์
               
1. รสชาดดี
               2. สีสวย
               3. น้ำหนักดี
               4. เก็บไว้ได้นาน
               5. มีคุณค่าทางโภชนาการ
               6. เพิ่มผลผลิตสูงขึ้น


ที่มา http://www.surin.go.th/kaset2.htm
มกท คืออะไร
  • เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ “มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” ซึ่งจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ.2544
  • ทำหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรอง ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานของ มกท.
  • เป็นสมาชิก “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ” (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก
เป็นหน่วยงานแรกในประเทศแถบเอเชียที่ได้รับการรับรองระบบ(Accreditation) จาก IFOAM เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 โดยการดำเนินการของ International Organic Accreditation Services.inc. (IOAS) ซึ่งทำให้ มกท. เป็นองค์กรให้บริการตรวจสอบและรับรองเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
มกท มีความเป็นมาอย่างไร
  • พ.ศ. 2538  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agricultural Network – AAN) ซึ่งมาจากแนวคิดเกษตรทางเลือก /ตลาดทางเลือก และการรวมตัวของเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้บริโภค และร้านค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สภามาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมีและลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอก และร่าง “มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539
  •  พ.ศ. 2541 จัดตั้งเป็น “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)”  และปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ครั้งแรก คือ “มาตรฐาน มกท. 2542” และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2542 มกท. สมัครขอรับรองระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ IFOAM   ได้รับการรับรองระบบตามเกณฑ์ของIFOAM ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับรองระบบตาม ISO65 ในปี พ.ศ.2548

เกษตรอินทรีย์ หมายรวมถึง เกษตรธรรมชาติ และ เกษตรนิเวศ ด้วย มีหลักการและความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้
  • พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
  • พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
  • ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์มและและความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม
  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอน ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
  • ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
“ กระบวนการผลิตนั้น ไม่มีการใช้ สารเคมีสังเคราะห์ และ มีการพยายามป้องกันการปนเปื้อนสารเคมี จากสภาพแวดล้อม อย่างดีที่สุด เท่าที่สามารถทำได้ ซึ่ง จะทำให้ ผลผลิตนั้น มีความปลอดภัย ต่อผู้บริโภค มากที่สุด  ( เมื่อเปรียบเทียบ กับ ผลิตภัณฑ์ทั่วไป)  อีกทั้งกระบวนการผลิตนี้  ยังมีการปฏิบัติตามแนวทาง  ในการอนุรักษ์  และฟื้นฟูสภาพนิเวศการเกษตร และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วย”
ที่มา actorganic-cert.or.th/produce.php

เกษตรผสมผสานกับการมีเงินออม

7 มกราคม 2010
By 
(เรื่องนี้ผมลอกจาก www.kobsak.com มาให้อ่านกันครับ น่าจะเป็นประโยชน์และกำลังใจต่อเหล่าฝูงปลาที่ว่ายทวนน้ำอยู่)
ในอดีต เกษตรกรไทยสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง อาหารการกินอุดมสมบรูณ์ ถึงกับมีคำกล่าวกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่ปัจจุบัน พอลงพื้นที่ กลับพบแต่ ปัญหาหนี้สินและความยากจน จนหลายคนอดถามคำถามไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น กับภาคเกษตรของไทย

สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของปัญหา ก็คือ การปลูกพืชเชิงเดียว
ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มัน อ้อย ปอ ฝ้าย เกษตรกรมีวัฏจักรการทำงานที่คล้ายๆ กัน ที่แต่ละคนจะมาช่วยกันลงแขกตอนปลูก เมื่อเสร็จก็รอที่จะช่วยกันเก็บเกี่ยว และลุ้นว่าราคาปีนั้นจะดีหรือไม่
ถ้าราคาดี ก็จะมีชีวิตที่ดี บริโภคได้มาก แต่ว่าถ้าราคาไม่ดี ก็จะกลายเป็นหนี้เป็นสิน ต้องกู้ยืมทั้งจาก ธกส. หรือจากนายทุนหน้าเลือดในพื้นที่ ถ้าไม่ดีหลายปีต่อเนื่อง ที่ดินที่เอาไปจำนอง ก็จะหลุดจำนอง หมดที่ทำกิน มีความลำบากในชีวิต
ตรงนี้ การปลูกพืชผสมผสาน เช่น ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง โดยทำทั้งปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกไม้ผล ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำอาชีพหัตถกรรมควบคู่กันไป จึงเป็นคำตอบ เป็นทางออกที่น่าสนใจ
จากที่เคยไปพูดคุยกับเกษตรกรหลายคน พบว่าเมื่อได้เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสานแล้ว หนี้สินต่างๆ ที่เคยมี ก็กลับสามารถทยอยชำระคืนไปได้ ในที่สุดชีวิตก็กลับมีความอุมสมบรูณ์เป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง





ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
  • การปลูกพืชผสมผสาน ช่วยให้ชีวิตของเกษตรกรไม่ต้องขึ้นกับราคาสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง ถ้า ราคาข้าวตกลงในปีนั้น ก็ยังมีสินค้าตัวอื่นที่คอยช่วยจุนเจือช่วยชีวิตได้ ความจริง มีคนเคยบอกว่า ถ้าทำเกษตรผสมผสานแล้ว มีทุกอย่างในสวนของตนแล้ว อยากกินอะไรก็สามารถไปหามากินได้ ไก่ ปลา กล้วย มะม่วง ผลไม้ต่างๆ ต่างมีอยู่พร้อมบริบูรณ์
  • มีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้มีการเก็บเกี่ยวปีละครั้ง เหมือนแต่ก่อน การเก็บออมก็เกิดขึ้นได้
  • เปลี่ยนวิถีชีวิต เนื่องจากแต่ก่อนพอช่วยกันลงแขกเสร็จ ชีวิตก็จะว่าง หลายคนไม่รู้จะทำอะไร ก็เล่นหวย เล่นการพนัน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้จ่าย รายจ่ายก็พอกพูน แต่พอหันมาปลูกพืชแบบผสมผสานแทน ก็กลับมีงานทำทั้งวัน มีอยู่คนหนึ่งที่ไปคุยด้วยบอกว่า ตื่นเช้ามาก็ไปเก็บผักชะอมส่งตลาด สายมาก็ไปดูนา เสร็จก็ไปดูผักและสวนผลไม้ หลังจากนั้นก็ไปดูแลเล้าไก่ ปลา พอเสร็จก็ไปทำงานฝีมือที่โรงเรือน เรียกว่าวุ่นทั้งวัน จนไม่มีเวลาเข้าไปกรายใกล้อบายมุข ที่ทำให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น ความพอเพียงของรายได้ก็เกิดขึ้น
  • บางคนเมื่อเริ่มมีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น ก็สามารถที่จะลงทุนระยะยาวได้ โดยจากการเริ่มเลี้ยงโคนม วัว กระบือที่นอกจากจะได้ของเสียมาทำปุ๋ยแล้ว ยังเป็นการลงทุนที่จะสามารถให้ผลในช่วงหลังเมื่อนำไปขาย
  • บางคนแบ่งที่ทำมาหากินส่วนหนึ่ง ไปทำป่า ปลูกไม้เนื้อแข็งเก็บออมเอาไว้เป็นธนาคารต้นไม้ เอาไว้เพื่อขายในอนาคต เท่าที่ได้ยินมา พอมีลูก ก็ให้เริ่มปลูกต้นไม้ยืนต้นเหล่านี้ พอลูกโต ก็ตัดไปขาย เพื่อส่งลูกเรียน ระหว่างทางต้นไม้ก็ช่วยให้พื้นดินชุ่มชื้น และเป็นหนทางที่จะทำเกษตรไม่เพียงแต่แนวราบ แต่ทำในแนวดิ่งด้วย
ด้วยเหตุนี้ การทำเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางออกของชีวิตให้กับเกษตรกร จากเดิมที่เป็นลูกไล่ของกลไกตลาด ที่ทำให้ชีวิตของหลายคนต้องพลัดตกลงไปหลุมบ่อของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว จากการกู้ยืม การซื้อปุ๋ยเคมี การรอให้ราคาดี และความยากลำบากที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไม่เป็นดังคาด ให้สามารถก้าวไปสู่ความเป็นอิสระในชีวิต ที่จะมีรายได้สม่ำเสมอ มีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ สามารถชำระคืนหนี้ และเก็บออมเพื่ออนาคตที่ดีของตนในที่สุด ก็ขอเอาใจช่วยครับ
ที่มา burirom.ketakawee.com